ดาราศาสตร์ คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับดวงดาวต่าง ๆ รวมทั้งโลกที่เราดำรงชีวิตอยู่
เอกภพ(Universe) มีความกว้างใหญ่ไพศาลมาก จนไม่สามารถวัดได้ว่ามีขอบเขตเพียงใด ภายในเอกภพประกอบด้วย กาแล็กซี(Galaxy)จำนวนมากมาย
และแต่ละกาแล็กซีอยู่ห่างไกลกันมากมาก จึงต้องกำหนดการวัดระยะทางเป็น ปีแสง
และแต่ละกาแล็กซีอยู่ห่างไกลกันมากมาก จึงต้องกำหนดการวัดระยะทางเป็น ปีแสง
ระยะทาง 1 ปีแสง หมายถึง ระยะทางที่แสงเดินทางในอวกาศเป็นเวลานาน 1 ปี
เมื่อ ความเร็วของแสงในสุญญากาศ = 3X105x60x60x24x30x12 Km
= 9.55x1012km
ระยะทาง 1 ปีแสง = 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร
ปัจจุบันเอกภพประกอบด้วยกาแล็กซีจำนวน แสนล้านแห่ง ระหว่างกาแล็กซีเป็นอวกาศที่เวิ้งว้างกว้างไกล เอกภพจึงมีนาดใหญ่มาก โดยมีรัศมีไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านปีแสง และมีอายุประมาณ 15,000
ล้านปี ภายในกาแล็กซีแต่ละแห่งประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนมาก แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ เรียกว่า เนบิวลา และที่ว่าง โลกของเราเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ ซึ่งเป็นสมาชิกหนึ่งของกาแล็กซีของเรา
เอกภพตามแนวคิดใหม่ของนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน |
ทฤษฎีบิกแบง (Big Bang)
บิกแบง เป็นทฤษฎีที่เสนอโดยนาย จอร์จ กาเมา (George Gamow) ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ.2491 อธิบายถึงการระเบิดใหญ่ ที่ทำให้พลังงานส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นเนื้อสาร มีวิวัฒนาการต่อเนื่องจนเกิดเป็นกาแล็กซี เนบิวลา ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ โลก ดวงจันทร์ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ
บิกแบง เป็นทฤษฎีที่เสนอโดยนาย จอร์จ กาเมา (George Gamow) ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ.2491 อธิบายถึงการระเบิดใหญ่ ที่ทำให้พลังงานส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นเนื้อสาร มีวิวัฒนาการต่อเนื่องจนเกิดเป็นกาแล็กซี เนบิวลา ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ โลก ดวงจันทร์ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ
กำเนิดเอกภพ
นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเอกภพเกิดจากการระเบิดใหญ่ ( Big bang ) เมื่อประมาณ 12,000-15,000 ล้านปีมาแล้ว เอกภพที่เกิดใหม่นี้ยังมีขนาดเล็กมากและเต็มไปด้วยรังสี หรือโฟตอน ( Photon ) พลังงานสูง ในช่วงเวลาอันสั้น รังสีหรือโฟตอนพลังงานสูงจะแปรสภาพเป็นเนื้อสารที่อยู่ในรูปของอนุภาคพื้นฐานที่เรียกว่า ควาร์ก ( Quark ) , อิเล็กตรอน ( Electron ), นิวทริโน ( Neutrino ) โดยยังมีโฟตอนหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากวัตถุดังกล่าวแล้ว ยังมีปฏิอนุภาค ( Anti-particle ) ซึ่งมีประจุไฟฟ้าตรงข้ามกับอนุภาคที่เป็นคู่ เช่น โพซิตอน ( Positron ) จะเป็นอนุภาคของอิเล็กตรอน แต่มีประจุเป็นบวก ส่วนนิวทริโน จะมีปฏิอนุภาคเป็น แอนตินิวตริโน ( Anti-neutrino ) เป็นต้น ทั้งอนุภาคและปฏิอนุภาคสามารถหลอมรวมกันได้กลายไปเป็นพลังงานจนหมด เช่น อิเล็กตรอนสามารถหลอมรวมกับโพซิตรอน กลายเป็นโฟตอนทั้งหมด เป็นต้น กระบวนการดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า กระบวนการคู่ประลัย ( Pair Annihilation )
การรวมตัวของอนุภาคควาร์ก(Quark) |
หลังบิกแบง 1,000 ล้านปี เกิดกาแล็กซีต่างๆ มากมาย ภายในกาแล็กซีมีธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นสารเบื้องต้น ซึ่งก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์รุ่นแรกๆ ส่วนธาตุต่างๆที่มีมวลมากกว่าฮีเลียมเกิดจากดาวฤกษ์ขนาดใหญ่
กาแล็กซี (Galaxy)
กาแล็กซี คือ อาณาจักรหรือระบบของดาวฤกษ์จำนวนนับแสนล้านดวง อยู่รวมกันด้วยแรงโน้มถ่วงระหว่างดวงดาวกับหลุมดำที่มีมวลมหาศาล ซึ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี โดยมีเนบิวลาซึ่งเป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นละออง ที่เกาะกลุ่มอยู่ในที่ว่างบางแห่งระหว่างดาวฤกษ์
หลุมดำ(Black Hole)
ภาพหลุมดำกำลังดึงดูดมวลสารของดาวฤกษ์ |
กาแล็กซีทางช้างเผือก กาแล็กซี่ของเรา (Milky Way Galaxy)
กาแล็กซีเพื่อนบ้าน
กาแล็กซี่แอนโดรเมดา อยู่ห่างจากโลก 2.4 ล้านปีแสง |
กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่
กาแล็กซีแมกเจลแลนเล็ก
นักดาราศาสตร์แบ่งกาแล็กซี ออกเป็น 4 ประเภท
1.กาแล็กซี่แบบทรงกลมหรือ ทรงรี (Elliptical Galaxy) |
2. กาแล็กซี่แบบกังหันหรือก้นหอย (Spieal Galaxy) |
3. กาแล็กซี่แบบบาร์ (Bar Spiral Galaxy) |
4. กาแล็กซี่แบบไร้รูปร่าง ( Irregular Galaxy) ให้นักเรียนศึกษาบทต่อไป เรื่อง ดาวฤกษ์ |
ไม่มีความคิดเห็น:
ไม่อนุญาตให้มีความคิดเห็นใหม่