กำเนิดระบบสุริยะ
มวลสารของระบบสุริยะกว่า 99.9 %อยู่ที่ดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะเกิดจากเนบิวลา มวลสารส่วนใหญ่กลายเป็นดวงอาทิตย์ ที่เหลือเล็กน้อยกลายเป็นดาวเคราะห์ บริวารดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหางและเศษวัตถุขนาดเล็กๆจำนวนมาก
เมื่อราว 5,000 ล้านปีมาแล้ว บริเวณที่เป็นระบบสุริยะในปัจจุบันเคยเป็นเนบิวลาที่มีแก๊สไฮโดรเจนและธาตุต่างๆเป็นองค์ประกอบ แก๊สและธาตุเหล่านี้มาจากเนบิวลา ด้วยเหตุนี้เมื่อเนบิวลากลายเป็นระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์และบริวารจึงมีส่วนประกอบที่มีธาตุต่างๆคล้ายคลึงกัน
ด้วยเหตุนี้เมื่อเนบิวลากลายเป็นระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์และบริวารจึงมีส่วนประกอบที่มีธาตุต่างๆ
คล้ายคลึงกัน ขณะที่มวลสารของเนบิวลาส่วนใหญ่กลายเป็นดวงอาทิตย์ เนบิวลาที่อยู่รอบนอก
ไม่ได้เคลื่อนเข้าไปรวมเป็นดวงอาทิตย์ แต่เคลื่อนหมุนวนเป็นแผ่นกลมแบนรอบดวงอาทิตย์ มวลสารเหล่านี้เคลื่อนวนจับกลุ่มเกิดเป็นดาวเคราะห์และบริวารอื่นของดวงอาทิตย์
นักดาราศาสตร์แบ่งเขตพื้นที่รอบดวงอาทิตย์ตามลักษณะการก่อตัวเกิดเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ออกเป็น 4 เขต คือ 1.ดาวเคราะห์ชั้นใน 2.แถบดาวเคราะห์น้อย 3.ดาวเคราะห์ชั้นนอก 4.เขตดาวหาง
ดาวเคราะห์ชั้นใน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวเหล่านี้มีพื้นผิวเป็นหินแข็ง
จึงเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน นักดาราศาสตร์ประมาณว่าคงใช้เวลาไม่น้อยกว่า 100 ล้านปี จึง
เกิดเป็นดาวเคราะห์ชั้นใน
มวลสารที่อยู่ระหว่างแถบดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี คือ ดาวเคราะห์น้อย นักดาราศาสตร์คาดว่าคงมีการก่อตัวเช่นเดียวกับวัตถุที่ก่อกำเนิดเป็นดาวเคราะห์ชั้นใน เศษที่เหลือจากการพอกพูนเป็นดาวเคราะห์หินถูกแรงรบกวนของดาวพฤหัสบดีซึ่งมีขนาดใหญ่และเกิดมาก่อนคือเกิดพร้อมกับดวงอาทิตย์ ทำให้มวลสารของดาวเคราะห์น้อยจับตัวกันมีขนาดใหญ่ไม่ได้ จึงปรากฏเป็นมวลสารขนาดเล็กมากมาย
ดาวเคราะห์ชั้นนอก ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ที่มี
ขนาดใหญ่ มีองค์ประกอบหลักเป็นแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียมทั้งดวง จึงเรียกว่า ดาวเคราะห์แก๊ส
หรือ ดาวเคราะห์ยักษ์
เศษที่เหลือจากดาวเคราะห์ยักษ์ คือ ดาวหาง จำนวนมากที่อยู่รอบนอกของระบบสุริยะ
Hale Bopp
ความรู้เก่า จากภาพ ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดาวเคราะห์ 9 ดวง
ความรู้ใหม่ สมาชิกระบบสุริยะปัจจุบัน มีดาวเคราะห์จำนวน 8 ดวง
เหตุผลที่ตัดดาวพลูโตออกจากสมาชิกระบบสุริยะ
1.มีขนาดเล็กมาก (เล็กกว่าดาวพุธ) พบว่ามีมวลสารใกล้เคียงกับขนาดของอุกาบาตใน
ดาวเคราะห์น้อย 2 ดวงคือ Ceres และ 2003 UB313
2.มีวงโคจรไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกันกับวงโคจรของดาวเคราะห์อื่นๆ
3.รัศมีวงโคจรไม่แน่นอนพบว่ามีรัศมีวงโคจรห่างออกไปเรื่อยๆเมื่อโคจรห่างจากดวงอาทิตย์ และ
รัศมีวงโคจรแคบเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์พบว่าวงโคจรไปซ้อนทับและตัดกับวงโคจรของดาวเนปจูล
ดวงอาทิตย์ ( SUN)
เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์
ดวงอื่นในท้องฟ้า
ดวงอาทิตย์จัดเป็น
ดาวฤกษ์ธรรมดาสามัญดวงหนึ่ง เป็นดาวฤกษ์
สีเหลือง ชนิดสเปกตรัม G
อุณหภูมิผิวประมาณ 6,000 เคลวิน
แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ทำให้เรามองเห็นดาวเคราะห์ พลังงานจากดวงอาทิตย์ทำให้โลกอบอุ่น จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกและก่อให้เกิดพลังงานต่างๆที่มีใช้อยู่บนโลก นอกจากพลังงานนิวเคลียร์และพลังงานความร้อนจากใต้พื้นโลกแล้วยังมีพลังงานอื่นๆที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์มากมาย จึงกล่าวได้ว่า ดวงอาทิตย์คือผู้ให้พลังชีวิตแก่โลก