กฎของโอห์ม

ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า

ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า มีความสัมพันธ์กันหรือไม่  อย่างไร 
             

   จากการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า  ของนักเรียน ดังภาพ   



                                ภาพ การเพิ่มถ่านไฟฉายจะทำให้ หลอดไฟฟ้าจะสว่างมากขึ้น

    จากภาพ ในการต่อหลอดไฟฟ้าเข้ากับถ่านไฟฉาย พบว่า การเพิ่มจำนวนถ่านไฟฉายให้มากขึ้น จะทำให้หลอดไฟฟ้าสว่างมากขึ้น   ซึ่งอธิบายได้ว่า        
       การเพิ่มจำนวนถ่านไฟฉายลงในวงจรเป็นการเพิ่มความต่างศักย์ไฟฟ้า นั่นเอง  และการที่หลอดไฟฟ้าสว่างมากขึ้น แสดงให้เห็นว่ามีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดไฟฟ้าในวงจรมากขึ้น

เมื่อนำผลของการทดลองมีเขียนกราฟได้ดังนี้


                            กราฟแสดงความสัมพันธ์ของความต่างศักย์ฟ้ากับกระแสไฟฟ้า



จากกราฟสรุปความสัมพันธ์ได้ว่า   " ความต่างศักย์ไฟฟ้า จะแปรผันโดยตรงกับกระแสไฟฟ้า  "

               เขียนความสัมพันธ์ได้ดังนี้   




              เมื่อ                    V   =   ความต่างศักย์ไฟฟ้า    มีหน่วยเป็น โวลต์ ( V )

                                        I    =   กระแสไฟฟ้า            มีหน่วยเป็น  แอมแปร์ ( A )


    ในปี พ.ศ. 2369 จอร์จ ไซมอน โอห์ม  นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ได้ตั้งเป็นกฎของโอห์มขึ้น โดยกล่าวว่า

  ถ้าอุณหภูมิของตัวนำมีค่าคงที่แล้ว อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า ที่ปลายทั้งสองของตัวนำต่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลในตัวนำนั้นย่อมมีค่าคงที่เสมอ และค่าคงที่นี้ ก็คือ ความต้านทานไฟฟ้า นั่นเอง"            จากความสัมพันธ์                                   
                                                     
     ( เมื่อ  K  =  ค่าคงที่   และค่าคงที่ในลวดตัวนำไฟฟ้านี้ คือ ความต้านทานไฟฟ้า   =  R  )
เขียนเป็นความสัมพันธ์ ได้ว่า         

 
                                         หรือ         V    =    IR  
 
       ดังนั้น กฎของโอห์ม  จึงมีสูตร    
                                                                            V   =   I R
  
                             เมื่อ            V   =   ความต่างศักย์ไฟฟ้า    มีหน่วยเป็น โวลต์ ( V )
                                                                   I    =    กระแสไฟฟ้า          มีหน่วยเป็น  แอมแปร์ ( A )
                                                                  R    =   ความต้านทานไฟฟ้า   มีหน่วยเป็น โอห์ม ( Ω )
 
                                                                             จอร์จ ไซมอน โอห์ม 
 
               กฎของโอห์ม สามารถนำไปใช้คำนวณหาปริมาณต่าง ๆ ทางไฟฟ้าได้  ปริมาณทางไฟฟ้าได้แก่   กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร   ความต่างศักย์ไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า 
  
                          จากกฎของโอห์ม                       V   =   I R                  
             
       
 
 
 
   ให้นักเรียนของกฎของโอห์มไปใช้คำนวณหาค่าปริมาณต่าง ๆ ทางไฟฟ้า ในแบบทดสอบonline ได้
   จากนั้นให้นักเรียนศึกษาต่อไปในเรื่อง การต่อความต้านทานไฟฟ้า ตามกฎของโอห์ม ในบทเรียนต่อไป 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น