แบบทดสอบปริมาณทางไฟฟ้า2

แบบทดสอบเรื่อง ปริมาณทางไฟฟ้า 2 จำนวน 20 ข้อ
ชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (รหัส ว23101 ) ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง ปริมาณทางไฟฟ้า 2 จำนวน 20 ข้อ
โดย อ. อุทิต พงษ์สวัสดิ์ โรงเรียน. วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
ยคำสั่ง ให้นักเรียนเลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว จากนั้นให้นักเรียนตรวจคำตอบได้ทันที และสามารถรายงานผลสอบไปให้ครูทราบ ทาง Web Blog

ข้อที่ 1)
ลวดตัวนำไฟฟ้า A B C ทำด้วยโลหะชนิดเดียวกัน พื้นที่หน้าตัดเท่ากัน แต่ลวดตัวนำ A มีความยาวกว่า B แต่น้อยกว่า C ดังนั้น การนำไฟฟ้าของลวดตัวนำ A เป็นอย่างไร
   ก. มากกว่า B และ C
   ข. น้อยกว่า B และ C
   ค. น้อยกว่า B แต่มากกว่า C
   ง. มากกว่า B แต่น้อยกว่า C

ข้อที่ 2)
ข้อใดมีสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าทั้งหมด
   ก. เงิน ตะกั่ว ทองแดง
   ข. เหรียญบาท กระจก สังกะสี
   ค. แก้ว ไม้ ยาง
   ง. อะลูมิเนียม เหล็ก น้ำกลั่น

ข้อที่ 3)
กระแสไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือนเป็นกระแสชนิดใด และมีความต่างศักย์ไฟฟ้าเท่าใด
   ก. ไฟฟ้ากระแสตรง และ 110 โวลต์
   ข. ไฟฟ้ากระแสตรง และ 220 โวลต์
   ค. ไฟฟ้ากระแสสลับ และ 110 โวลต์
   ง. ไฟฟ้ากระแสสลับ และ 220 โวลต์

ข้อที่ 4)
ตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวดคือข้อใด
   ก. ตัวนำไฟฟ้าที่ทำจากโลหะผสมชนิดหนึ่ง
   ข. ตัวนำไฟฟ้าที่มีความต้านทานไฟฟ้าสูงมาก
   ค. ตัวนำไฟฟ้าที่ไม่มีความต้านทานไฟฟ้าเลย
   ก. ตัวนำไฟฟ้าที่ทำให้มีอุณหภูมิต่ำ

ข้อที่ 5)
ข้อใดเป็นลักษณะของแอมมิเตอร์ที่ดี
   ก. มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำ และต่อแบบขนานกับวงจร
   ก. มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำ และต่อแบบอนุกรมกับวงจร
   ก. มีความต้านทานไฟฟ้าสูง และต่อแบบขนานกับวงจร
   ก. มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำ และต่อแบบอนุกรกับวงจร

ข้อที่ 6)
กำหนดให้ 1) แอมมิเตอร์ 2) โวลต์มิเตอร์ 3) ต่อแบบขนาน 4) ต่อแบบอนุกรม คำถาม ถ้าต้องการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจร ควรใช้อุปกรณ์ในข้อใด
   ก. 1) และ 4)
   ข. 1) และ 3)
   ค. 2) และ 3)
   ง. 2) และ 4)

ข้อที่ 7)
จากภาพ เครื่องวัด M1 และ M2 ใช้วัดค่าของสิ่งใด
      
   ก. ทั้ง M1 และ M2 ใช้วัดความต่างศักย์ไฟฟ้า
   ข. ทั้ง M1 และ M2 ใช้วัดกระแสไฟฟ้า
   ค. M1 ใช้วัดความต่างศักย์ไฟฟ้า M2 ใช้วัดกระแสไฟฟ้า
   ง. M1 ใช้วัดกระแสไฟฟ้า M2 ใช้วัดความต่างศักย์ไฟฟ้า

ข้อที่ 8)
ฉนวนไฟฟ้า หมายถึงข้อใด
   ก. สารละลายอิเล็กโทรไลต์
   ข. สารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้
   ค. สารที่ไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้
   ง.สารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้เมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น

ข้อที่ 9)
ข้อความใดต่อไปนี้ กล่าวได้ถูกต้อง
   ก. กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำไฟฟ้าได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต้านทานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว
   ข. ตัวนำไฟฟ้าที่มึความต้านทานไฟฟ้าน้อย จะมีความนำไฟฟ้ามาก
   ข. ตัวนำไฟฟ้าที่มึความต้านทานไฟฟ้าน้อย จะมีความนำไฟฟ้าน้อย
   ข. ตัวนำไฟฟ้าที่มึความต้านทานไฟฟ้ามาก จะมีความนำไฟฟ้ามาก

ข้อที่ 10)
ลวดตัวนำไฟฟ้า A B C ทำด้วยโลหะชนิดเดียวกัน พื้นที่หน้าตัดเท่ากัน แต่ลวดตัวนำ A มีความยาวกว่า B แต่น้อยกว่า C ดังนั้น การนำไฟฟ้าของลวดตัวนำ A เป็นอย่างไร
   ก. มากกว่า B และ C
   ข. น้อยกว่า B และ C
   ค. น้อยกว่า B แต่มากกว่า C
   ง. มากกว่า B แต่น้อยกว่า C

ข้อที่ 11)
ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อความต้านทานไฟฟ้า
   ก. จุดหลอมเหลวของลวดตัวนำไฟฟ้า
   ข. ชนิดของลวดตัวนำไฟฟ้า
   ค. พื้นที่หน้าตัดของลวดตัวนำไฟฟ้า
   ง. ความยาวของลวดตัวนำไฟ้า

ข้อที่ 12)
จากรูป เป็นหน้าปัดของเครื่องวัดชนิดหนึ่ง ใช้วัดงานอะไร
      
   ก. วัดกระแสไฟฟ้า ไฟสลับ สูงสุด 40 แอมแปร์
   ข. วัดกระแสไฟฟ้า ไฟตรง สูงสุด 40 โวลต์
   ค. วัดความต่างศักย์ไฟฟ้า ไฟตรง สูงสุด 40 แอมแปร์
   ง. วัดความต่างศักย์ไฟฟ้า ไฟสลับ สูงสุด 40 โวลต์

ข้อที่ 13)
ลวดตัวนำ 4 เส้น ทำด้วยทองแดงชนิดเดียวกัน เส้นใดมีความต้านทานไฟฟ้าสูงสุด
   ก. ยาว 12 cm พื้นที่หน้าตัด 0.04 ตารางเซนติเมตร
   ข. ยาว 13 cm พื้นที่หน้าตัด 0.03 ตารางเซนติเมตร
   ค. ยาว 13.5 cm พื้นที่หน้าตัด 0.02 ตารางเซนติเมตร
   ง. ยาว 14 cm พื้นที่หน้าตัด 0.01 ตารางเซนติเมตร

ข้อที่ 14)
ลวดนิโครม เบอร์ 26 ยาว 30 cm และลวดเหล็กเบอร์ 26 ยาว 30 cm ต่อเข้ากับความต่างศักย์ไฟฟ้าเท่ากัน เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำทั้งสองเท่ากันหรือไม่ อย่างไร
   ก. เท่ากัน เพราะความต่างศักย์ไฟฟ้าเท่ากัน
   ข. เท่ากัน เพราะเป็นเบอร์ 26 เหมือนกัน
   ค. ไม่เท่ากัน ลวดเหล็กยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้มากกว่า
   ง. ไม่เท่ากัน ลวดนิโครมยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้มากกว่า

ข้อที่ 15)
เบอร์ของลวดตัวนำไฟฟ้า มีความเกี่ยวข้องกับข้อใดโดยตรง
   ก. ขนิดของลวดตัวนำไฟฟ้า
   ข. พื้นที่หน้าตัดของลวดตัวนำไฟฟ้า
   ค. ความยาวของลวดตัวนำไฟฟ้า
   ง. อุณหภูมิของลวดตัวนำไฟฟ้า

ข้อที่ 16)
ข้อความใดกล่าวได้ถูกต้อง
   ก. ลวดตัวนำไฟฟ้าที่ดีต้องมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย ๆ
   ข. ทองแดงเป็นโลหะที่นำไฟฟ้าได้ดีที่สุด
   ค. เงินจะมีความต้านทานไฟฟ้าผกผันกับอุณหภูมิ
   ง. สายไฟในบ้านทำด้วยโลหะอะลูมินียม

ข้อที่ 17)
ในการสร้างโวลต์มิเตอร์ ต้องมีหลักการอย่างไร
   ก. ต้องให้โวลต์มิเตอร์มีความต้านทานไฟฟ้ามาก ๆ
   ข. ต้องให้โวลต์มิเตอร์มีความต่างศักย์ไฟฟ้าสูง ๆ
   ค. ต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านโวลต์มิเตอร์ได้สะดวก
   ง. ต้องให้โวลต์มิเตอร์มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำ ๆ

ข้อที่ 18)
โวลต์มิเตอร์ 4 เครื่อง มีความต้านทานไฟฟ้า 2 , 3 ,4 และ 5 โอห์ม ตามลำดับ โวลต์มิเตอร์เครื่องใดดีที่สุด
   ก. เครื่องความต้านทาน 2 โอห์ม
   ข. เครื่องความต้านทาน 3 โอห์ม
   ค. เครื่องความต้านทาน 4 โอห์ม
   ง. เครื่องความต้านทาน 5 โอห์ม

ข้อที่ 19)
เซลล์สุริยะ ทำด้วยสารกึ่งตัวนำ ถ้าแผ่นหนึ่งทำด้วยสารซิลิคอนผสมสารฟอสฟอรัส อีกแผ่นหนึ่งจะทำด้วยสารซิลิคอนผสมกับสารใด
   ก. คาร์บอน
   ข. โครเมียม
   ค. อะลูมิเนียม
   ง. โบรอน

ข้อที่ 20)
อุณหภูมิจะมีผลต่อความต้านทานไฟฟ้าของสารกึ่งตัวนำอย่างไร
   ก. เมื่ออุณหภูมิต่ำลง ความต้านทานไฟฟ้าจะลดลง
   ข. เมื่ออุณหภูมิต่ำลง ความต้านทานไฟฟ้าจะคงที่
   ก. เมื่ออุณหภูมิต่ำสูงขึ้น ความต้านทานไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น
   ก. เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ความต้านทานไฟฟ้าจะลดลง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น